วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติการเลี้ยงจระเข้

ประวัติการเลี้ยงจระเข้


จระเข้ (Crocodile) เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งยังคงดำรงชีวิตอยู่ในโลกปัจจุบัน อยู่ในอันดับ โครโคดีเลีย (Crocodylia) มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ซึ่งส่วนมากจะพิจารณาจากรูปร่างลักษณะ ทั้งจากลักษณะทั้งตัว และความแตกต่างของบางส่วนโดยเฉพาะ เช่น จากรูปร่างของปาก จากเกล็ดบนหัวและคอ ความแตกต่างของฟัน เป็นต้น ลักษณะทั่วไปของจระเข้ทุกประเภทคือ มีปากและหัวยาว รูจมูกและตา ยกสูงอยู่บนหัว คอสั้น ลำตัวยาวกลม มีเกล็ดบนคอและหลัง เกล็ดท้องเป็นแผ่นบาน หางยาวใหญ่และแข็งแรง มีเกล็ดเป็นแผ่นใหญ่ตั้งสูงบนสันหาง หางแบนทางด้านข้าง ขาสั้นทั้งขาหน้าและขาหลัง นิ้วตีนสั้นทั้งตีนหน้าและตีนหลัง ลิ้นไม่สามารถแลบออกจากปากได้ เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ใกล้น้ำ

เกี่ยวกับความเป็นมาของจระเข้นั้น มีหลักฐานการขุดพบกระโหลกศรีษะจระเข้ที่รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ขนาดความยาววัดได้ ถึง 2 เมตร 1 คืบ กว้างประมาณ 1 เมตร เมื่อคำนวนกระโหลกศรีษะดู คาดว่าเป็นจระเข้ที่มีขนาดโตประมาณ 44 เมตร และหนักประมาณ 5 ตัน ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งมหานครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา

สำหรับประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2519 มีการค้นพบกรามจระเข้ขนาดยักษ์ ที่จังหวัดหนองบัวลำพู สันนิษฐานว่าเป็นบรรพบุรุษของตะโขง และในปี พ.ศ. 2523 ที่อำเภอภูเวียง จังหวัดของแก่น ก็ยังได้ค้นพบกระดูกจระเข้น้ำจืดโบราณอีกด้วย ในอดีตจระเข้ในธรรมชาติยังคงมีกระจัดกระจายอยู่เป็นจำนวนมากในเขตเมืองร้อนทั่วโลก การออกล่าฆ่าจระเข้เดิมทีก็เพื่อขจัดภัยที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้คนและสัตว์เลี้ยง ซึ่งการล่าจระเข้อยู่ในวงจำกัด ไม่กระทบกระเทือนจำนวนจระเข้ในธรรมชาติมากนัก

ครั้นนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ต่างประเทศทั่วโลกเริ่มมีการค้าขายติดต่อกัน รวมทั้งประเทศไทยด้วยเช่นกัน ทำให้เกิดมีตลาดเครื่องหนังขึ้นมา หนังจระเข้เป็นอีกชนิดหนึ่งที่นิยมกันและมีค่าสูง จึงได้เกิดขบวนการค้าจระเข้กันขึ้นเพื่อนำเอาหนังจระเข้มาขาย หนังจระเข้ได้กลายมาเป็นสินค้ามีชื่อเสียงและเปิดเผย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ศ. 2493 - 2503 ราคาหนังจระเข้ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหนัง ได้แก่ กระเป๋าหนังจระเข้มีมากขึ้น ประมาณกันว่ามีการซื้อขายหนังจระเข้กันมากถึง 2 ล้านผืนต่อปี การล่าจระเข้เพื่อรองรับความต้องการจึงมีสูงเพิ่มขึ้นทำให้จำนวนจระเข้ในธรรมชาติลดลง หรือไม่มีพบเห็นปรากฏอีกเลย ถ้าหากปล่อยให้มีการล่าจระเข้กันโดยไม่มีการแก้ไขย่อมทำให้จระเข้สูญพันธุ์ได้ ในประเทศไทยเราจึงเกิดมีผู้เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์จระเข้ขึ้นเพื่อเป็นการตัดปัญหาในเรื่องการล่าจระเข้จากธรรมชาติซึ่งหาได้ยากและเพื่อให้มีหนังจระเข้ป้อนขายให้ตลาดอย่างแน่นอน

โดยในปี พ.ศ. 2489 ได้มีนายอุทัย ยังประภากร เป็นบุคคลแรกที่เริ่มเพาะเลี้ยงจระเข้ แม้จะเกิดวิกฤตการณ์เกี่ยวกับการเลี้ยงนี้มากมายก็ตาม แต่ในปัจจุบันก็ได้ประสบความสำเร็จจนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ในชื่อฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการ ในฐานะเป็นผู้ศึกษาค้นคว้า เชี่ยวชาญทั้วเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตวป่าในเชิงพาณิชย์ อุตสาหกรรมเกษตร และการท่องเที่ยว ฟาร์จระเข้แห่งนี้นับเป็นฟาร์มเลี้ยงจระเข้ที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็ว่าได้ นอกจากนี้แล้ว ปัจจุบันก็มีฟาร์มจระเข้อีกหลายแห่งในภาคกลาง เช่นที่ นครปฐม ชลบุรี นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี กำแพงเพชรและพิจิตร ส่วนภาคอื่น ๆ ก็มีบ้างเช่นกัน

จากความเชื่อที่ว่าจระเข้คงจะเหมือนสัตว์ป่าที่มีความดุร้ายทั่วไปที่มนุษย์สามารถนำเอามาเลี้ยงเป็นสัตว์ไว้ใช้งานได้ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น จึงทำให้จระเข้ซึ่งเป็นผู้สืบเชื้อสายสัตว์ดึกดำบรรพ์ถูกวิวัฒนาการมาสู่ระดับสุดท้าย กลายเป็นสัตว์เลี้ยงไปโดยปริยาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น